ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทางทิศใต้ของหมู่บ้านช้างหมอบ หมู่ที่ 14 ตำบลแนงมุด แนวเทือกเขาพนมดงรัก เดิมชื่อ “ผาจำเนียง” และได้ตั้งชื่อใหม่ขึ้นว่า “ทมอโรย” (ภาษาเขมร) มีความหมายว่า “หินจำนวนมาก” (หินเป็นร้อย) “ทมอ” ความหมายคือ หิน หรือเขา “โรย” ความหมายคือ ร้อย เรียกได้ว่า คือ สิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติก้อนหินนับร้อย รูปทรงแปลกตาวางเรียงราย สวยงามน่าประทับใจ
ในอดีตที่แห่งนี้เคยเป็นที่พักอาศัยของชาวกัมพูชาที่อพยพมา ระหว่างปี พ.ศ. 2527 – 2536 เป็นพื้นที่สำคัญ คือ เป็นที่ประทับของกษัตริย์กัมพูชาและราชวงศ์ ที่อพยพหนีสงครามกลางเมืองกัมพูชา สมเด็จนโรดมสีหนู อดีตกษัตริย์กัมพูชา เจ้ารณฤทธิ์ และเจ้าจักรพงศ์ ได้มาประทับลี้ภัยการเมืองอยู่ในป่า ณ ที่แห่งนี้ ระหว่างช่องเขา บริเวณเนิน 538 (เขาพนมเบง) ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างไทย-กัมพูชา ทมอโรย มีจุดชมวิวเป็นลานหินกว้าง อยู่บนเนินเขาที่สวยงาม สามารถมองเห็นทัศนียภาพของ เนิน 538 และเห็นตัวเมืองกรุงสำโรง จ.อุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชาได้ (หากสภาพอากาศปรอดโปร่ง)ทมอโรย ร่องรอยแกะสลักรูปพระราหูอมจันทร์ ซึ่งเป็นที่สำหรับการไว้บูชาขอพร