ข้ามไปที่เนื้อหา
เมนู
หน้าเเรก
สถานที่ท่องเที่ยว
อนุเสาวรีย์พระยาสุริทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
วัดบูรพาราม
ศาลหลักเมืองสุรินทร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง
สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา ๘o พรรษา
หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง
วนอุทยานพนมสวาย
ทะเลสาบเซาะกราวห้วยระไซร์
หมู่บ้านทอผ้าไหม บ้านอาลึ โฮมสเตย์
ปราสาทศีขรภูมิ
วัดเขาศาลาอตุฐานะจาโร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับชัน-ห้วยสำราญ
จุดชมวิวผามะนาว
ทมอโรย
กลุ่มปราสาทตาเหมือนธม
ปราสาทตาควาย
ปราสาทบ้านพลวง
ปราสาทภูมิโปน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุงป่วนเครื่องเงินโบราณ
ปราสาทจอมพระ
ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง
โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์
สุสานช้าง
ทะเลสาบทุ่งกุลา
ติดต่อเรา
ปราสาทตาควาย
ปราสาทตาควาย
สถานที่ตั้ง
: บ้านไทยนิยมพัฒนา ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
Website :
www.finearts.go.th/surinmuseum
การกำหนดอายุ :
การกำหนดอายุของปราสาทหลังนี้ทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากยังมิได้มีการสลักลวดลายประดับตกแต่งตัวอาคาร และชิ้นส่วนสำคัญของสถาปัตยกรรม แต่เมื่อพิจารณาจากผังและรูปทรงของตัวปราสาท อาทิ หลังคาทรงพุ่มส่วนยอดของห้องครรภคฤหะและมีการเพิ่มมุม การก่อหลังคาและเจาะช่องหน้าต่างที่ผนังมุขทั้ง ๔ ด้าน รวมทั้งลักษณะการเข้าวงกบประตูเลียนแบบเครื่องไม้ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับปราสาทประธานปราสาทพิมาย ศิลปะขอมแบบบาปวนตอนปลายและนครวัดราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ จึงอาจกำหนดอายุในเบื้องต้นได้ว่า ปราสาทตาควายน่าจะมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ โดยประมาณ
รายละเอียด :
ชื่อโบราณสถาน
การเรียกชื่อโบราณสถานหลังนี้ได้อ้างอิงจากสภาพภูมิศาสตร์ใกล้เคียง ได้แก่ ช่องเขาที่เรียกว่า ช่องปราสาทตาควาย อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการสัมภาษณ์ราษฎรทราบว่าได้เรียกชื่อว่า ปราสาทตาควายตามชื่อของราษฎรที่พบปราสาทหลังนี้เป็นครั้งแรก ดังนั้นการเรียกชื่อจึงใช้ควบคู่กันว่า ปราสาทตาควาย(ตาวาย)
ลักษณะของโบราณสถาน
ปราสาทตาควายเป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของตัวอาคารเป็นรูปกากบาท มุขด้านหน้า(ทิศตะวันออก) ยาวกว่าด้านที่เหลืออีก ๓ ด้านเล็กน้อย ส่วนฐานต่ำ ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยหินทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะก่อเป็นทรงพุ่ม(ยอดปรางค์) ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๕ ชั้น ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุนไปจรดหน้าบันทั้ง ๔ ด้าน
ภายในห้องครรภคฤหะพบชิ้นส่วนประติมากรรม ลักษณะคล้ายศิวลึงค์ธรรมชาติหรือสวยัมภูลึงค์ทิ้งอยู่ ๑ ชิ้น ปราสาทหลังนี้มีสภาพค่อนข้างดี การก่อสร้างโดยเฉพาะโครงสร้างของตัวอาคารนั้น ก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งหลัง แต่ยังขาดอยู่เฉพาะการปรับผนังและตกแต่งลวดลายลงบนส่วนสำคัญของตัวอาคาร เช่น หน้าบัน ทับหลัง เสาติดผนัง เสาประดับกรอบประตูและผนัง
นอกจากนี้ปราสาทตาควาย บริเวณตัวปราสาทยังปรากฏเพิงและก้อนหินทรายขนาดใหญ่อยู่โดยทั่วไปอีกด้วย
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน : ยังไม่ประกาศขึ้นทะเบียน
แผนที่