ข้ามไปที่เนื้อหา
เมนู
หน้าเเรก
สถานที่ท่องเที่ยว
อนุเสาวรีย์พระยาสุริทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
วัดบูรพาราม
ศาลหลักเมืองสุรินทร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์
อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง
สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเฉลิมพระชนมพรรษา ๘o พรรษา
หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง
วนอุทยานพนมสวาย
ทะเลสาบเซาะกราวห้วยระไซร์
หมู่บ้านทอผ้าไหม บ้านอาลึ โฮมสเตย์
ปราสาทศีขรภูมิ
วัดเขาศาลาอตุฐานะจาโร
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับชัน-ห้วยสำราญ
จุดชมวิวผามะนาว
ทมอโรย
กลุ่มปราสาทตาเหมือนธม
ปราสาทตาควาย
ปราสาทบ้านพลวง
ปราสาทภูมิโปน
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุงป่วนเครื่องเงินโบราณ
ปราสาทจอมพระ
ศูนย์คชศึกษา หมู่บ้านช้างบ้านตากลาง
โครงการคชอาณาจักร จังหวัดสุรินทร์
สุสานช้าง
ทะเลสาบทุ่งกุลา
ติดต่อเรา
ปราสาทจอมพระ
ปราสาทจอมพระ
สถานที่ตั้ง
: บ้านศรีดงบัง ตำบลจอมพระ อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์
เปิด : เปิดทุกวัน (ไม่เก็บค่าเข้าชม)
Website :
www.finearts.go.th/surinmuseum
ปราสาทจอมพระเป็นอโรคยศาล หรือศาสนสถานประจำสถานพยาบาลแห่งหนึ่งในจำนวน ๑๐๒ แห่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โปรดให้สร้างขึ้นราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เนื่องจากพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน และทรงสนับสนุนให้ประชาชนของพระองค์นับถือศาสนานี้ด้วย ทำให้สิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมของวัฒนธรรมขอมที่เคยมีขนาดใหญ่โต เนื่องในศาสนาฮินดูเปลี่ยนไปเป็นสิ่งก่อสร้างที่มุ่งเน้นที่การสร้างกุศลเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของพระองค์ ตามหลักของศาสนาพุทธ
จากหลักฐานต่างๆ และจารึกที่สร้างไว้ตามอโรคยศาลนั้น ทำให้ทราบว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงโปรดให้สร้างอโรคยศาลหรือโรงพยาบาลขึ้นไว้ตามเมืองต่างๆ ทั่วพระราชอาณาจักร โดยมอบให้เจ้าเมืองเป็นผู้ดูแล พร้อมทั้งจัดหาแพทย์ พยาบาล และยารักษาโรคไว้เพื่อแจกจ่ายรักษาประชาชนผู้เจ็บป่วย
อโรคยศาลทุกแห่งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกัน คือ ปราสาทประธาน ๑ องค์ ตั้งอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าขวามีวิหาร ๑ หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือนอกกำแพงแก้วมีสระน้ำขนาดเล็กรูปสี่เหลี่ยม ๑ สระ
ปราสาทจอมพระ มีปราสาทประธาน ๑ องค์ ก่อด้วยศิลาแลง แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้ยี่สิบ มีขนาดประมาณ ๕ x ๕ เมตร มีประตูทางเข้าออกอยู่ทางทิศตะวันออก หน้าประตูมีมุขยื่นยาวประมาณ ๓ x ๒ เมตร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานมีบรรณาลัย ๑ หลัง ก่อด้วยศิลาแลงแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดประมาณ ๔ x ๘ เมตร มีประตูทางเข้าออกอยู่ทางทิศตะวันตก ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดประมาณ ๒๑.๖๐ x ๔๕ เมตร บริเวณด้านทิศตะวันออกมีซุ้มประตูรูปกากบาท ที่ผนังประตูมีช่องหน้าต่าง ๑ ช่อง นอกเขตกำแพงแก้วมีสระน้ำ ๑ สระ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบโบราณวัตถุที่สำคัญ คือ พระวัชระสัตว์ และเศียรพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
อายุสมัย : อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘
การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน :
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
การประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถาน :
กรมศิลปากรประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๘ ตอนที่ ๑๐๔ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เนื้อที่ ๒๘ ไร่ – งาน ๑๒ ตารางวา
การเดินทาง :
การเดินทางจากสุรินทร์ – อำเภอจอมพระ ทางหลวงหมายเลข ๒๑๔ (ถนนปัทมานนท์) ระยะทาง ๒๘.๖ กิโลเมตร
แผนที่